วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556



ประวัติดนตรีสากล



การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา


    ยุคต่างๆของดนตรีสากล
    นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้
  1. Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650)
    ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
  2. Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750)


    ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen
  3. Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 )


    ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ Haydn Gluck และMozart
  4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 )


    ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญ ถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
  5. .Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน )
    เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ ศาสนา โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการดนตรี ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามาก ขึ้น ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์ เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000 สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ ตัวโน้ต ( Note ) นั่นเอง โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด เร มี นั้น เป็นคำสวดในภาษาละติน จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน
ต้นกำเนิดของไวโอลิน
                การเขียนถึงเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของไวโอลินอาจจะเขียนได้เป็นร้อยๆ พันๆ หน้ากระดาษเลยทีเดียว มีนักเขียนมากมายที่เขียวเรื่องราวประวัติศาสตร์ของไวโอลิน เรื่องราวที่มีเสน่ห์เเละประวัติอันยาวนานของมัน รวมถึงมุมมองและทัศนะที่แตกต่างกันมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่ยืนยันได้อย่างแน่นอน
                ในอดีตที่มนุษย์ยังล่าสัตว์เป็นอาหารอยู่นั้น มนุษย์พบว่าการยิงธนูทำให้เกิดเสียงขึ้น นั่นเป็นเพราะการสั่นสะเทือนของสายคันธนู ข้อเท็จจริงที่ว่าการทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือนด้วยการใช้คันชักลากผ่านสาย ถูกค้นพบหลังจากนั้นอีกนาน เเต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นไม่ปรากฏชัดเจน แต่เครื่องดนตรีที่ใช้คันชักนั้นอาจจะมีการเล่นกันในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ และที่อื่นๆ มาก่อนแล้ว ในช่วงต้นศตวรรษที่ 8 และในยุโรปในราวๆ ช่วงศตวรรษที่ 9 คำว่า ' Fiddle ' นอกจากจะเป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีที่ใช้คันชักทุกๆ ชนิดแล้ว คำๆ นี้มักจะหมายความถึงเครื่องดนตรีตั้งแต่ยุคกลาง (Middle Ages) อีกด้วย ซึ่งมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
                 มีการพบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายพบในหลายๆ วัฒนธรรมและในช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งย่อมมีส่วนในพัฒนาการของเครื่องดนตรีที่เรียกว่าไวโอลินอยู่บ้างไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม เครื่องดนตรีเหล่านี้ เช่น Kithara ของกรีก ซึ่งอยู่ในราวปีที่ 7 ก่อนคริสตกาล หรือซอเอ้อหู (Erhu) ของจีน ซึ่งมีอายุอยู่ในราวศตวรรษที่ 8 ในขณะที่วิวัฒนาการที่สำคัญของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้คันชักไม่มีความเกี่ยวของโดยตรงกับ ไวโอลิน บทวามนี้จะแสดงถึงบรรพบุรุษที่ใกล้ชิดของไวโอลิน มีวิวัฒนาการจนมีรูปร่างดังเช่นในปัจจุบันได้อย่างไร และมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกอย่างไร
  Vielle
 
Viola di Braccio (Viola da Braccio, Lira di Braccio, Lira da Braccio)
Viola di Braccio (ซอ 'วิโอล' ของแขน) ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศอิตาลี มีขนาดและรูปทรงใกล้เคียงกับ Vielle แต่ลดสายจาก 5 ลงเหลือ 3 เช่นเดียวกับ Rebec และในช่วงแรกนั้น ช่องเสียงรูปตัว C (C-hole) ของ Rebec และ Vielle ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นช่องเสียงที่คล้ายคลึงกับช่องเสียงรูปตัว F (F-hole) ของไวโอลินสมัยใหม่
 
 
 
Viola di Braccio
 
Violin
จาก หลักฐานต่างๆ ล้วนกล่าวว่า ต้นกำเนิดของไวโอลินอยู่ที่ประเทศอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้ที่ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นเป็นคนแรก และเรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันต่อไป แต่การศึกษาและค้นคว้าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วจะยกความดีให้กับ Andrea Amati แห่งเครโมนา (ราวๆ ปี 1511-1577) ว่าเป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่โลกรู้จัก จากเอกสารที่กล่าวถึงไวโอลิน 2 คันที่เขาสร้างขึ้นในระหว่างปี 1542 และ 1546 แต่เครื่องดนตรีเหล่านี้มีสายแค่ 3 สายเช่นเดียวกับ ไวโอลิน 4 สายตัวแรกก็ทำโดย Andrea Amati ในปี 1555 ส่วนไวโอลินที่เก่าแก่ที่สุดที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ ไวโอลิน ปี 1560 ทำโดย Andrea Amati เช่นกัน

แต่ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งกลับแย้งความเห็น ที่ว่า Andrea Amati เป็นช่างทำไวโอลินคนแรก แต่ยกความดีนี้ให้กับ Gasparo di Bertolotti da Salo (Gasparo da Salo) (ราวๆ ปี 1540-1609) แห่งเบรสเชีย เนื่องจากอาจารย์ของ Andrea Amati เป็นช่างทำเครื่องดนตรีพิณโบราณ (Lute) เอกสารที่มีอยู่ก็กล่าวถึง Andrea Amati ว่าเป็นช่างทำพิณโบราณ และมีไวโอลินของเขาหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่กล่าวถึงไวโอลินนับตั้งแต่มันเป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นใหม่นั้น คำว่า "ช่างทำไวโอลิน" หรือ "Violin maker" ก็ ยังไม่เป็นที่รู้จัก ยิ่งกว่านั้น มีเอกสารที่กล่าวถึงการขายไวโอลินจำนวน 24 ตัวของ Andrea Amati ให้กับกษัตริย์ Charles IX แห่งฝรั่งเศสในปี 1560 และมีไวโอลินเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่หลงเหลืออยู่ให้พิสูจน์ว่า Andrea Amati เป็นผู้ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้น และมีผลงานของเขาเพียง 14 ชิ้นเท่านั้นที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
 
 
 
ไวโอลินปี 1560 ที่หลงเหลืออยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่ง Andrea Amati ทำเพื่อถวายให้กับกษัตริย์ Charles IX แห่งฝรั่งเศส
 
Greatest Violinist
Yehudi Menuhin (1916-1999) เป็นทั้งนักไวโอลิน วาทยกร และ "เด็กมหัศจรรย์" ท่านออกแสดงที่ Carnegie Hall กรุงนิวยอร์ค เมื่ออายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น นอกจากนั้น Yehudi Menuhin ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นนักไวโอลินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลอีกด้วย
 
 
 
Most Expensive Violin on Record
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1998 ไวโอลินฝีมือของ Antonio Stradivari ที่รู้จักกันในชื่อ ' Kreutzer ' ถูกประมูลขายโดยสถาบัน Christie ด้วยราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง £947,500 ปอนด์ ($1,786,368.49 เหรียญ)

ตามมาด้วยการประมูลเมื่อเดือนเมษายนปี 2005 ไวโอลิน ' Lady Tennant ' ปี 1699 ผลงานของ Stradivari ถูกประมูลไปด้วยราคาที่ลบสถิติเดิมคือ 2,032,000 เหรียญ

และล่าสุดคือเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2006 ทางสถาบัน Christie ได้ประมูลขายไวโอลิน ' Hammer ' ปี 1707 ผลงานของ Stradivari อีกเช่นกัน ถูกประมูลขายไปด้วยราคาที่เป็นสถิติใหม่คือ ที่ 3,544,000 เหรียญ
 
 
' Hammer ' Stradivari ปี 1707
" Lady Tennant '' Stradivari ปี 1699
 
' Kreutzer ' ปี 1727 ไวโอลินคู่ใจของ Maxim Vengerov
 
Mass Production of Violins
ใน ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ความต้องการไวโอลินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ทำให้มันกลายเป็นสินค้าที่ ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม ไวโอลินหลายแสนตัวที่ติดฉลากชื่อของช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาว อิตาเลียน เช่น Amati, Stradivari, Guarneri ฯลฯ ได้ผลิตขึ้นที่ระเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ในยุโรป ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้ไม่ได้ตั้งใจทำขึ้นเพื่อปลอมแปลง แต่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่หลงใหลในไวโอลินของ ยอดฝีมือเหล่านี้

ปัจจุบันงานเลียนแบบเหล่านี้กลับปรากฏอยู่ตามห้อง ใต้หลังคาบ้านต่างๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความตื่นเต้นเล็กๆ ให้กับเจ้าของด้วยความฝันถึงความร่ำรวย ในขณะที่ความจริงกลับเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมาพบไวโอลิน Stradivari เอาป่านนี้ และมูลค่าของไวโอลินที่ถูกค้นพบเหล่านี้คงไม่ทำให้เจ้าของรู้สึกดีใจได้มาก นัก คงมีแต่คำปลอบใจตัวเองเท่านั้น ข่าวการพบไวโอลิน Stradivari คงเป็นได้แค่เรื่องเศร้าและเรื่องน่าขายหน้ามากกว่าเรื่องน่ายินดี ในที่สุดก็ต้องขายออกไปในราคาของเลียนแบบเท่านั้น ทางที่ดีคือนำไวโอลินไปปรึกษาผู้วชาญเพื่อพิสูจน์ความจริงเพื่อให้เกิดความ สบายใจ
 
เครื่องดนตรี Ergonomic
ไวโอลิน ไม่ใช่เครื่องดนตรีที่ถือได้ง่ายที่สุด ส่วนวิโอล่านั้นยิ่งยากกว่า ผลก็คือทำให้นกไวโอลินและนักวิโอล่ามีปัญหาเรื่องคอ แขนและนิ้ว เพื่อป้องกันอาการดังกล่าวจึงมีการออกแบบเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงพิเศษออกมา หลายแบบ
 
 



" Pellegrina Pomposa: Ergonomic Viola
 
 
อ่านจบแล้ว เป็นยังไงบ้าง บางคนอาจจะมองว่าน่าเบื่อก็ได้นะ เหอๆๆ
ทั้ง นี้ทั้งนั้น เราก็ไม่ได้หมายความว่า ข้อมูลที่เราไปหามาเป็นความจริงทั้งหมด แต่อ้างอิงประวัติศาสตร์ ที่นี่ บอกเราหน่อยได้มั้ยว่า เครื่องดนตรีที่เพื่อนๆ ชอบคืออะไร เฉพาะในวงออร์เครสต้าร์นะคะ  ^ ^

ประวัติความเป็นมาของกลองชุด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลองชุด


            กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย  มีความหมายถึง  กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum  หรือ Jass Drum  ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน  คือ  การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ  คำว่า  “แจ๊ส (Jass)  หมายถึง  ดนตรีแจ๊ส  ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง  จึงเรียกว่า  Jass Drum  และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming  หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
            กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ  และฉาบหลายอันมารวมกัน  โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรี ดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่  วงคอมโบ้ (Combo)  วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)  ฯลฯ
            กลอง  จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด  ในอดีตมนุษย์
ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ  จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า  แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี  สำหรับการเต้นรำ  คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการ
บรรเลง  โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก  โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง  การบันทึก
บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ  ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน  เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น  การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก  โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
            ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม  พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ  จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด  ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น  การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายใน โดยตรงของนักตีกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime)  ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น  ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว  และรวบรัดชวนให้เต้นรำ
สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ  แต่นักตีกลองส่วนใหญ่  โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธ
ของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ  และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ
แร็กไทม์ว่า  “ของปลอม”  เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้ อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง  ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญก็คือ  สามารถบรรเลงได้อย่าง
ดีเยี่ยม
            ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920  ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดา
นักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นัก ตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง  จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง  แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้
สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อน หรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่อง
เครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า
            ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass)  จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า  การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes)  หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่”  นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบท เพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1935  จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing)  เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ  นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด  เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo)  ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวง ดนตรี  ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
            จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนา ขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ ได้รับความนิยม  การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้  เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการ อย่างดีอีกด้วย
            ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก  นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ  รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก  และสงคราม  ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo)  เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop)  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque)  คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง  โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน  แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat)  อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง  มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
            จังหวะต่างๆที่นิยมบรรเลง  ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะ
ก็หายสาบสูญไป  เพราะไม่ได้รับความนิยม  แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆเข้ามาแทนที่
ส่วนประกอบของกลองชุด
            กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรี ดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลง ได้แก่วง คอมโบ้  วงสตริงคอมโบ้  ฯลฯ  กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
            1.  กลองใหญ่ (Bass Drum) 
            กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาด แตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22 นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง  เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่  เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal)  ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว  สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
            2. กลองเล็ก (Snare Drum) 
            กลองเล็ก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับ กลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ  หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน  สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่ สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลอง เล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่  โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา  กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน  และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill)  ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
            3.  ฉาบ (Cymbals) 
            ฉาบ  เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ  และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ  เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า  บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
            4.  ไฮแฮท (Hi Hat) 
            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง  โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ  เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบ กัน  ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
            5.  ทอม ทอม (Tom Tom) 
            ทอม ทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo)  เพื่อสร้างความรู้สึก  การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้  ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
            6.  ฟลอร์ทอม (Floor Tom) 
            ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม  มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม  แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม  โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง       16  x 16 นิ้ว
 
ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
         กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมาก เนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก     หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จัก กีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของ เขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มี โอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย